วิธีรักษาสิว และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสิวอาการ สาเหตุ และ การดูแลรักษา
สิว เป็นโรคผิวหนังที่พบมากที่สุด มักจะเริ่มต้นเกิดขึ้นในวัยรุ่น ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและอาจยังคงมีอยู่จนกระทั่งถึงวัยผู้ใหญ่ ประมาณ 80-90% ของวัยรุ่นมักมีปัญหาสิว และ 20-30% ของคนเหล่านี้ต้องการการดูแลรักษาทางการแพทย์ เพื่อปรึกษาถึงแนวทางการรักษาสิว นอกจากนี้ยังมีอุบัติการณ์การเกิดสิวที่เพิ่มมากขึ้นในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงที่มีปัญหาสิวในช่วงวัยที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจถึงสาเหตุการเกิดสิว การใช้ผลิตภัณฑ์ วิธีรักษาสิว และแนวทางวิธีรักษาสิวกัน
วิธีรักษาสิว สิวคืออะไร?
คนที่มีปัญหาสิว มักมีปัญหาผิวมัน และเกิดการอุดตันกลายเป็นสิวอุดตันชนิดหัวเปิดและชนิดหัวปิด (สิวหัวดำและสิวหัวขาว) มักเกิดขึ้นบริเวณใบหน้าและลำคอ, ไหล่, หน้าอกและบริเวนแผ่นหลัง สำหรับสิวที่รุนแรงปานกลางและรุนแรงมากนั้น สิวจะเริ่มมีอาการบวมแดง อักเสบและพัฒนาเป็นหัวหนองต่อไป การที่มีผิวมีปัญหาเรื่องสิวนั้น ทำให้เกิดการวิตกกังวล ก่อความรำคาญ และยังนำไปสู่การเกิดรอยดำ รอยแดงสิวหลังการอักเสบ (post-inflammatory hyperpigmentation;PIH) และ / หรือ รอยแผลเป็นในระยะยาวได้อีกด้วย

การเกิดรอยดำ รอยแดงสิวหลังการอักเสบ (post-inflammatory hyperpigmentation;PIH) เป็นการที่ผิวหนังเปลี่ยนสีไป เพราะเป็นผลจากการเกิดการอักเสบของผิวหนัง เช่น การเกิดสิว , โรคผิวหนังอักเสบ เป็นต้น โดยเฉพาะคนที่มีสีผิวคล้ำจะมีโอกาสเกิดสูง. รอยดำ รอยแดงสิวหลังการอักเสบนี้ จะค่อยๆจางลงได้เมื่อเวลาผ่านไป แต่การรักษาทางการแพทย์ในปัจจุบันก็มีวิธีรักษาสิวที่สามารถช่วยให้สิวหายเร็วขึ้นได้ซึ่ง วิธีการรักษาสิวแต่ละประเภทนั้นมีความต่างกัน รวมถึงสภาพผิวหนังของแต่ละคนอีกด้วย
สาเหตุสำคัญ 4 ประการที่นำไปสู่การก่อตัวของสิว:

น้ำมันส่วนเกิน

การอุดตันรูขุมขน

การเจริญเติบโตของแบคทีเรีย

การอักเสบของผิว
1. Seborrhea
คือการผลิตน้ำมันในผิวมากเกินไป ในทางสรีรวิทยาต่อมไขมัน จะผลิตน้ำมันเพื่อการหล่อลื่นผิวหนัง มีหลายปัจจัยที่สามารถกระตุ้นการผลิตน้ำมันของต่อมไขมันได้ เช่น ฮอร์โมน สภาพอากาศ ยาบางชนิด พันธุกรรม เป็นต้น
การรบกวนการผลิตน้ำมันของต่อมไขมัน อาจกระตุ้นให้เกิด โรคผื่นผิวหนังอักเสบ (Seborrheic Dermatitis) ได้ คือ ผิวหนังมีการอักเสบ ลอกเป็นขุย หรือแผ่น สีขาว/ เหลือง บริเวณที่ผิวมัน เช่น บริเวณหนังศีรษะ หรือ ผิวบริเวณข้างในหู เป็นต้น อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคผื่นผิวหนังอักเสบ (Seborrheic Dermatitis)
2. Hyperkeratosis
คือ การที่ผิวหนังชั้นนอกสุด (Stratum corneum) เกิดการหนาตัวขึ้นผิดปกติ เนื่องจากเกิดการผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วผิดปกติ ทำให้เกิดการอุดตันท่อต่อมไขมัน และส่งผลรบกวนการไหลของน้ำมันออกมานอกผิวหนัง
เมื่อต่อมไขมัน สร้างน้ำมันออกมาในปริมาณมาก ประกอบกับการที่ผิวหนังชั้นนอกสุด(Stratum corneum) เกิดการหนาตัวขึ้นผิดปกติ จึงทำให้เกิดการอุดตันขึ้นในรูขุมขน ซึ่งจะทำให้เกิดสิวอุดตันหัวปิด (สิวหัวขาว) หรือ ถ้าการอุดตันเกิดขึ้นใกล้กับปากรูขุมขน ก็จะเกิดสิวหัวเปิด (สิวหัวดำ) ขึ้นมา
3. Microbial colonization
คือแบคทีเรียที่เจริญเติบโตอยู่บริเวณรูขุมขน (propionibacteria) เป็นสาเหตุให้สิวอุดตัน เกิดการอักเสบ บวมแดง หรือเป็นหัวหนองขึ้นมา
4. Inflammation
คือกระบวนการอักเสบของร่างกาย ทำให้เกิดสิวบวมแดงและอักเสบขึ้น ในกรณีที่เป็น Severe acne การอักเสบจะขยายและลึกลงไปในบริเวณเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้เคียงมากขึ้น
สาเหตุและปัจจัยกระตุ้นที่ก่อให้เกิดสิว
Hormones ฮอร์โมนมีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดสิวในเด็กวัยรุ่น (แม้ว่าคนทุกเพศทุกวัยจะมีปัญหาสิว) การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนแอนโดรเจนในทั้งเด็กชายและเด็กหญิงในช่วงวัยรุ่น ส่งผลให้ต่อมไขมันที่ผิวหนังผลิตน้ำมันมากขึ้นกว่าความต้องการของผิว
นอกจากนี้ ปริมาณฮอร์โมนในระบบไหลเวียนเลือด ยังเป็นปัจจัยให้ต่อมไขมันที่ผิวหนังไวต่อการเกิดสิวอีกด้วย
ส่วนใหญ่แล้วสิวจะหายได้เองหลังจากผ่านช่วงวัยรุ่นไปแล้ว อย่างไรก็ตามวิธีรักษาสิวที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรอยแผลสิว
ต่อมไขมันมักไวต่อการกระตุ้นโดยฮอร์โมน ดังนั้นสิวในวัยผู้ใหญ่ที่เกิดขึ้นในผู้หญิงมักสัมพันธ์กับฮอร์โมน เช่น โรคถุงน้ำในรังไข่ (polycystic ovary syndrome) เป็นต้น นอกจากนี้ความเครียดอาจจะทำให้เกิดสิวในผู้หญิงวัยผู้ใหญ่อีกด้วย
Bacteria ในคนที่มีแนวโน้มเป็นสิวง่าย การที่ต่อมไขมันสร้างน้ำมันออกมามากเกินจะทำให้ เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้แบคทีเรีย (P.acne) เจริญเติบโตได้ดี ซึ่งจะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ บวมแดง และเป็นหัวหนอง
บางคนเชื่อว่าสิวเกิดจากการไม่รักษาความสะอาด หรือไม่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งไม่ใช่เรื่องจริง ในทางตรงกันข้าม การทำความสะอาดผิวมากเกินไป หรือ ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีฤทธิ์รุนแรง จะเป็นปัจจัยที่ทำให้ผิวเกิดการระคายเคือง และเกิดสิวได้มากกว่า ดังนั้นเราจึงควรทำความเข้าใจวิธีรักษาสิว ให้ถูกวิธี และควรรู้จักสภาพผิวของตัวเอง ก็จะช่วยลดการเกิดสิวได้

สิวอาจทำให้เกิดความเครียด ดังนั้นจึงควรขอคำแนะนำกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังตั้งแต่ระยะแรกของการเกิดสิว

โดยปกติแล้วเชื้อที่ก่อให้เกิดสิว (Propionibacterium acnes) ไม่เป็นอันตราย แต่จะสามารถเจริญเติบโดแบ่งตัวได้มากเป็นทวีคูณ เมื่อมีการผลิตน้ำมันมากเกินไป
Genes
กรรมพันธุ์มีผลต่อการเกิดสิวด้วยเช่นกัน ถ้าพ่อแม่มีประวัติมีปัญหาสิวในช่วงวัยรุ่น ลูกในวัยรุ่นก็มีโอกาสที่จะปัญหาด้วยเช่นกัน
ในทำนองเดียวกันถ้าคนใดคนหนึ่งหรือทั้งพ่อและแม่มีปัญหาสิวในวัยผู้ใหญ่ ลูกก็มีโอกาสสูงที่จะเป็นสิวในวัยผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน

ควรแจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาประจำตัวที่คุณใช้อยู่ทุกครั้ง เมื่อคุณไปปรึกษา หรือรักษา กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง
Medication ยาบางอย่างเช่น สเตียรอยด์และลิเธียม มีรายงานว่าทำให้เกิดสิวได้ในบางคน
มีหลายคนมักกล่าวว่า คนที่ผิวมีปัญหาสิวเกิดจากการที่สกปรก การมีสุขอนามัยที่ไม่ดี หรือการขาดสารอาหาร ซึ่งความเชื่อเหล่านี้เป็นความเชื่อที่ผิด ทำให้คนที่เป็นสิวเกิดความไม่มั่นใจ ไม่เชื่อมั่นในตัวเอง ซึ่งแพทย์ผิวหนังและบุคลากรทางการแพทย์ มีความเชี่ยวชาญเพียงพอที่จะไม่เชื่อตามคำพูดเหล่านั้น
ปัจจัยอื่นๆที่กระตุ้นให้เกิดสิว
ปัจจัยบางอย่างไม่ใช่สาเหตุโดยตรงในการเกิดสิว แต่สามารถกระตุ้นให้อาการของสิวแย่ลงได้ ;
- อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง (น้ำตาลและแป้ง)
- การบริโภคนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัวมากเกินไป (ยกเว้นชีส)
- การสูบบุหรี่
- เครื่องสำอางที่ก่อให้เกิดการอุดตันรูขุมขนได้
- ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ก่อให้เกิดการอุดตัน
- วิธีรักษาสิว ที่ไม่เหมาะสมกับสภาพผิวของตัวเอง

การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงสามารถทำให้อาการของสิวแย่ลงได้
วิธีรักษาสิว ควรเริ่มต้นจากการเริ่มรักษาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ผิวหนังตั้งแต่ระยะแรกที่เริ่มเป็นสิว เพราะจะได้รับคำแนะนำเรื่องวิธีรักษาสิวที่เหมาะสมกับสภาพผิวของเรา จะทำให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพ และสามารถป้องกันการเกิดสิวในระดับรุนแรงได้
ข้อพึงปฏิบัติสำหรับคนเป็นสิว:
- ควรใช้น้ำอุ่น (ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป เพราะจะทำให้สิวรุนแรงขึ้น) และผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่เหมาะสม
- ไม่ควรบีบสิว หรือแกะสิว เองควรปล่อยให้สิวยุบหรือหายเองตามธรรมชาติ
- เลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ไม่ก่อให้เกิดการอุดตันรูขุมขน
- เลือกใช้เครื่องสำอางที่ไม่ก่อให้เกิดการอุดตันรูขุมขน
- ให้ใช้เช็ดหรือล้างเครื่องสำอางออกทุกวัน
- หาวิธีรักษาสิว ที่เหมาะสมกับสภาพผิวหนัง และประเภทสิวของตัวเอง
